ตอนที่ 3 วิธีขจัดรอยเปื้อนผ้าที่ไม่ทราบสาเหตุ

ถ้าเราไม่ทราบสาเหตุของรอยเปื้อนว่าเกิดจากอะไร ในการวิเคราห์รอยเปื้อนนั้นเราควรจดจำรายละเอียดของสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับรอยเปื้อนได้บ้าง เช่น รอยเปื้อนหมึก สี หรือน้ำมัน หรือ ถ้าใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์หยดลงบนรอยเปื้อนที่มีเลือดหรือคราบโปรตีนจะเกิดฟองขึ้น จะเป็นสารละลายแป้งกับคราบไอโอดีนจะเกิดการเปลี่ยนเป็นสีฟ้า

การใช้อินดิเคเตอร์ต่างๆ เช่น ฟีนอลฟ์ธาลีน (Phenolphthalein) เมธิลออร์เรนจ์ (Methyl Orange) และเมธิลเรด (Methyl Red) จะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้รู้ถึงสภาพความเป็นกรดด่างในกรณีของสนิทเหล็กจะมีความยุงยากขึ้นอีกเล็กน้อยแต่ถ้าจำเป็นสามารถทดสอบได้โดยการหยดกรดเกลือ (HCI) ที่กลั่นจนไม่มีเหล็กอยู่ลงบนรอยเปื้อนแล้วใช้สารละลายโปตัสเซียมเฟอร์ริคไซยาไนต์ (K3Fe(CN)6) หยดลงไป ถ้าเกิดสีแดงขึ้นแสดงว่ามีเหล็กเหลืออยู่

มีอยู่หลายกรณีที่คราบต่างๆ ถูกทำให้ติดแน่นด้วยความร้อน ทำให้ไม่สามารถขจัดออกได้หมด การขจัดคราบเหล่านี้มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น น้ำยาซักแห้ง ตัวทำละลายที่ละเหยง่าย และน้ำยาหมึกพิมพ์หรือน้ำยาลอกสี ถ้าผ้าไม่มีส่วนผสมของเส้นใยอะซีเตต ไตรอะซีเตต หรือทอดาครีลิค ก็สามารถใช้อะซีโตน และเอมิลอะซีเตตได้
  2. ใช้สารละลายน้ำสบู่เข้มข้นและด่าง (Alkaline Builder Solution) ถ้าเป็นผ้าไหมสีหรือขนสัตว์ให้ใช้แต่สารละลายน้ำสบู่เท่านั้น
  3. ใช้สารละลายกรดออกซาลิค หรือน้ำยาขจัดสนิม
  4. ใช้สารออกซิไดซิ่ง ถ้าสีของผ้านั้นมีความคงทนต่อขบวนการนี้ แต่ถ้าคราบนั้นยังติดแน่นและ/ผ้าเป็นสีขาว ให้ฟอกขาวด้วยสารฟอกขาวคลอรีนหรือโปตัสเซียมไดโครเมตตามด้วยโซเดียมโฮโดรซัลไฟท์
  5. ใช้สารรีดิวซิ่ง เช่น โซเดียมไฮโดรซัลไฟท์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารลอกสีฉะนั้นควรคำนึงถึงความควทนของสีต่อสารนี้ด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *